รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) แจ้งว่า เตรียมแผนการดำเนินโครงการสะพานคู่ขนานข้ามแม่น้ำโก-ลก ที่ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส หรือ สะพานสุไหงโก-ลก แห่งที่ 2 ขณะนี้ฝ่ายมาเลเซียรับผิดชอบในการออกแบบ และจะส่งรูปแบบสะพานดังกล่าวให้ไทยพิจารณาเดือน พ.ย. 66 จากนั้นจะประชุมด้านเทคนิคในช่วงปลายปี 66 ต่อไป นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมจะพิจารณาเรื่องผลกระทบจากการก่อสร้างสะพานดังกล่าวด้วย เนื่องจากบริเวณก่อสร้างสะพานดังกล่าว เป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และมีประชาชนอาศัยอยู่เป็นเวลานาน ดังนั้นต้องมีการหารือกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบมากที่สุด

สำหรับโครงการสะพานคู่ขนานข้ามแม่น้ำโก-ลก ใช้งบประมาณก่อสร้าง220 ล้านบาท ไม่รวมถนนแต่ละฝั่ง แบ่งเป็นฝั่งไทย 110 ล้านบาท ฝั่งมาเลเซีย 110 ล้านบาท แบ่งความรับผิดชอบ ณ กึ่งกลางสะพาน โดย ทล. เตรียมศึกษารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)ในปี 67 ขณะเดียวกันเตรียมขอจัดตั้งงบประมาณปี 68 จำนวน 160 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างสะพาน 110 ล้านบาท และงานถนนและสิ่งประกอบ 50 ล้านบาท หากได้รับงบฯ จะเริ่มก่อสร้างในปี 68 แล้วเสร็จในปี 70 ระยะเวลา 2 ปี

โครงการสะพานคู่ขนานข้ามแม่น้ำโก-ลก จะก่อสร้างสะพานใหม่คู่ขนานกับสะพานเดิม คือสะพานโก-ลก หรือ สะพานรันเตาปันจัง-สุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก พื้นที่ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เชื่อมกับรันเตาปันจัง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย มีระยะห่างกันกับสะพานเดิม 8 เมตร รูปแบบเป็นสะพานคอนกรีต ความยาว 116 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร มีทางรถ จยย. 1 ช่อง มีทางเท้า 1 ช่อง และมีหลังคาคลุมสำหรับคนเดินเท้า ซึ่งสะพานใหม่นี้ จะรับรถทิศทางขาออกจากประเทศมาเลเซีย มุ่งหน้าเข้าประเทศไทยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นอกจากนี้ มีการออกแบบสะพานดังกล่าว โดยนำสถาปัตยกรรม “เรือกอและ” มาใช้ เพื่อสะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่นของทั้งสองประเทศที่มีความคล้ายคลึงกันอีกด้วย เนื่องจากเรือกอและ เป็นเรือประมงท้องถิ่นในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยและชายฝั่งตะวันออกของประเทศมาเลเซียฝั่งตะวันตก

ขณะเดียวกันจะปรับปรุงสะพานโก-ลก เดิมด้วย เนื่องจากสะพานโก-ลก เดิม ซึ่งเป็นสะพานมิตรภาพไทย-มาเลเซียแห่งแรก เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2516-ปัจจุบัน (ปี 2566) ระยะเวลา 50 ปี เป็นสะพานคอนกรีต ความยาว 109 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร มีทางเท้าสองข้าง ดังนั้นจะปรับปรุงใหม่คือยังมีขนาด 2 ช่องจราจรเหมือนเดิม แต่เพิ่มเติมคือมีทางรถ จยย. 1 ช่อง และทางเท้า 1 ช่อง มีหลังคาคลุมสำหรับคนเดินเท้า ซึ่งสะพานตัวเดิมนี้ จะรับรถทิศทางขาออกจากประเทศไทย มุ่งหน้าเข้าประเทศมาเลเซีย เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ จะทำให้มีสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก จากเดิมมีขนาด 2 ช่องจราจร เป็นขนาด 4 ช่องจราจร ทิศทางละ 2 ช่อง

โครงการสะพานคู่ขนานข้ามแม่น้ำโก-ลก อยู่ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย, การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-มาเลเซีย (JC), การพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย และแผนงานพัฒนาของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โครงการนี้ ได้รับการหยิบยกขึ้นมาหารือ เพื่อผลักดันก่อสร้างโครงการในการพบปะกันของผู้นำ ทั้งระดับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศ

สะพานแห่งใหม่นี้จะช่วยลดความแออัดของปริมาณจราจร อำนวยความสะดวกในการเดินทาง และกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าชายแดนระหว่างสองประเทศมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งแรก ข้อมูลจากด่านศุลกากรเก็บสถิติการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ผ่านด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก มีมูลค่าสูงที่สุดใน จ.นราธิวาส โดยในปีงบประมาณ 66 มีมูลค่านำเข้าสูงถึง 1,088 ล้านบาท สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ไม้แปรรูป ปลาทะเลทั้งตัวแช่เย็น ยางมะตอย และมีมูลค่าส่งออก 1,456 ล้านบาท สินค้าส่งออกที่สำคัญ เช่น ปลาทะเลทั้งตัวแช่เย็น ผลไม้สด แป้งมันสำปะหลังสำเร็จรูป เป็นต้น

ในปี 66 มีผู้เดินทางเข้า-ออกด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก 2.68 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 121.61% ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยเป็นผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร 1.33 ล้านคน และเดินทางออกจากราชอาณาจักร 1.35 ล้านคนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

By admin